ความสำคัญ
ทั่วโลกยอมรับกันว่าวิธีที่จะแก้ไขปัญหาขาดสารไอโอดีนได้อย่างครอบคลุมและทั่วถึง คือ รณรงค์ให้ทุกครัวเรือนบริโภคเกลือเสริมไอโอดีน (ไม่ใช่เกลือทะเลซึ่งถือว่ามีไอโอดีนไม่เพียงพอ) แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ ขณะนี้เกลือเสริมไอโอดีนในประเทศไทยยังไม่ได้มาตรฐานสม่ำเสมอ ทำให้ไม่ส่งผลให้ขจัดโรคขาดสารไอโอดีนได้อย่างที่คาดหวัง ปัญหานี้เกิดจากกระบวนการผลิตที่ส่วนใหญ่ยังไม่สามารถผสมไอโอดีนกับเกลือให้สม่ำเสมอได้ ซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบกันอย่างจริงจัง และเข้มงวด
หลักการน้ำยาทดสอบ
น้ำยาทดสอบไอโอดีนในเกลือบริโภค I-Reagent เป็นน้ำยาสำเร็จรูปขวดเดียว สำหรับใช้วัดปริมาณไอโอเดทในเกลือในขั้นตอนเดียว สามารถใช้ได้ทั้งในห้อง lab และภาคสนาม ทำให้ควบคุมคุณภาพของเกลือได้สะดวก และกว้างขวางขึ้น ทั้งจากฝ่ายสาธารณสุขจังหวัดเองและจากโรงเรียนในท้องถิ่น หลักการที่ใช้วัดปริมาณไอโอดีนในเกลือ ซึ่งไอโอดีนที่ใช้เสริมในเกลืออยู่ในรูปของไอโอเดท ในวิธีการนี้จะใช้น้ำยาสำเร็จรูปผสมกับเกลือเพียงขั้นตอนเดียว ถ้าเกลือมีไอโอดีนก็จะมีสีน้ำเงิน การที่เกิดสี เพราะโมเลกุลของไอโอดีน จะสอดแทรกเข้าไปในเกลียวของสารละลายแป้ง เกิดเป็นสารเชิงซ้อนที่มีสี จากสีน้ำเงินไปจนเป็นสีม่วงและสีน้ำตาลตามสัดส่วนของสาร และรูปทรงของแป้ง สีที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาระหว่างไอโอเดทในเกลือกับน้ำยา ได้สารละลายสีน้ำเงินที่มีความเข้มของสีเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณไอโอเดทในช่วง 0-100 พีพีเอมไอโอดีน ซึ่งความเข้มของสีน้ำเงินจะวัดได้โดยใช้ spectrophotometer หรือ colorimeter ที่ความยาวคลื่น 500 นาโนเมตร
ประโยชน์น้ำยาทดสอบ
- การใช้งานง่าย สะดวก รวดเร็ว วัดสีโดยใช้เครื่องมือวัดสี (visible spectrophotometer หรือ colorimeter อย่างง่าย ๆ) ที่เวลาเท่าใดก็ได้หลังจากเวลา 5 นาที (ถ้าไม่มีเครื่องวัดสี เทียบกับหลอดมาตรฐานได้)
- น้ำยาสำเร็จรูป I-Reagent นี้ เป็นน้ำยาที่มีองค์ประกอบที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้
- สีที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาระหว่างไอโอเดทในเกลือกับ I-Reagent มีความคงทนเป็นวัน ทำให้สามารถวัดตัวอย่างได้ครั้งละมาก ๆ ทำให้ใช้เวลาในการวิเคราะห์สั้นมาก และสามารถเลือกวัดในเวลาที่สะดวกได้
- ทำให้ทราบประมาณไอโอเดทที่ควรใส่เพื่อให้เกลือมีไอโอดีน 30 ppm ไม่ใช่มากไป (50-70 ppm) หรือน้อยไป (8-15 ppm) อย่างที่ยังพบอยู่ในปัจจุบัน
- การควบคุมคุณภาพของเกลือเสริมไอโอดีนทำได้สะดวก และกว้างขวางขึ้น ทั้งจากฝ่ายผู้ผลิต สาธารณสุขจังหวัดเอง ชุมชน และจากโรงเรียนในท้องถิ่น
ความแม่นยำของน้ำยาทดสอบ
วิธีการวัดปริมาณไอโอเดทในเกลือเสริมไอโอดีนโดยใช้ I-Reagent นี้มีความแม่นยำสูงในระดับ 3-100 พีพีเอมไอโอดีน จากค่า % coefficient of variation ที่นอกจากจะมีค่าไม่เกิน 10 แล้ว ยังมีค่าค่อนข้างต่ำ การวิเคราะห์ที่ 3 พีพีเอมไอโอดีนมีค่า % CV ประมาณ 3.5 ขณะที่การวิเคราะห์ที่ช่วงสูง 10-100 พีพีเอมไอโอดีน มีค่า % CV ประมาณ 0.43-1.7 เมื่อเทียบกับวิธีมาตรฐาน คือ titration พบว่าค่า ppm ไอโอดีนที่ได้จาก I-Reagent ได้ผลไม่ต่างไปจากวิธี titration จากค่า correlation coefficient มีค่าเท่ากับ 0.9887 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ทั้ง 2 วิธีการมีความสัมพันธ์กันสูงมาก นอกจากนี้การวิเคราะห์ด้วย pair t-test ก็สนับสนุนผลของ correlation coefficient ว่าทั้ง 2 วิธีให้ผลการวิเคราะห์ที่ไม่ต่างกัน และจากการใช้สถิติ kappa analysis ซึ่งได้ค่า kappa สูงถึง 0.924 แสดงให้เห็นว่าทั้ง 2 วิธีนี้มีความสอดคล้องกันดีมาก
สนใจขอใบเสนอราคาและสั่งซื้อสินค้า
131 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย อาคารกลุ่มนวัตกรรม 1 ต. คลองหนึ่ง อ. คลองหลวง จ. ปทุมธานี 12120
โทร. 081-847-6768, 02-191-3928 แฟกซ์ 02-191-3929 คุณโทณิวัฒน์ 085-811-4779, คุณนารีรัตน์ 085-814-9653
Email : info@highents.com
ไฟล์ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์